ลักษณะสำคัญของกราฟแท่งเทียน
Bullish Stick Sandwich ประกอบด้วยแท่งเทียน 3 แท่ง โดยแท่งแรกเป็น แท่งสีแดง (ราคาปิดต่ำ) ส่วนแท่งที่สองเป็น แท่งสีเขียว (ราคาปิดสูง) ที่มีราคาปิดสูงกว่าแท่งแรก ต่อมาเกิดแท่งเทียนแท่งที่สามที่เป็น แท่งสีแดง (ราคาปิดต่ำ) โดยแท่งที่สามจะมีราคาเปิดสูงกว่าแท่งเทียนแท่งที่สอง แต่สุดท้ายราคาก็กลับมาปิดที่ระดับเดียวหรือใกล้เคียงกับราคาปิดของแท่งเทียนแท่งที่หนึ่ง นั้นเอง
ข้อสังเกต
1.กราฟแท่งเทียนทั้ง 3 จะมีราคาเปิดหรือปิดสูงขึ้นเรื่อยๆจากวันก่อนหน้า
2.ตลาดก่อนเกิดรูปแบบนี้จะเป็นขาลงมาก่อน (downtrend) หรืออยู่ในช่วงพักตัว
3.จะพบแท่งเทียนแบบ Marubozu black candle(หรือแท่งเทียนที่ไม่มีใส้เทียน) ในวันแรกและวันสุดท้าย
4.ในวันที่สองจะพบแท่งเทียน แท่งสีเขียว ที่มีราคาเปิดสูงกว่าราคาปิดของวันแรก
เหตุผลทางจิตวิทยา
เมื่อแท่งเทียนที่ 2 ขึ้นมาปิดทะลุแนวต้านแรกได้ทุกคนก็จะรอการคอนเฟริมจากราคาแท่งที่ 3 แต่ราคาดันพุ่งลงมาแทบจะที่เดิมเลยหรืออาจจะต่ำกว่าด้วยซ้ำ แต่หากลองมองดูดีดีแล้วละก็ ภาพของแท่งที่ 2 และ 3 หากเอามารวมกันจะคล้ายกับ Inverted hammer ที่เป็นสัญญาณการกลับตัวของตลาดนั้นเอง แต่เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าหุ้นจะขึ้นควร confirm ด้วยแท่งเทียนในวันที่ 4 ก่อน ต้องเป็นแท่งสีเขียวๆ ที่มีราคาเปิดเหนือราคาปิดของ marubozu แท่งวันที่ 3
ผลที่อาจจะเกิด
เกิด สภาวะ Bullish ทำให้เราคาหุ้นขึ้นในระยะกลาง ถึงระยะยาว ได้
ตัวอย่าง
คล้ายๆอาจไม่เหมือนมาแต่ส่งผลกับตลาดเช่นกันคับ
Cr. ตามภาพ
0 Comments